ความเป็นมา
- 11 ม.ค. 2548 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- 25 ม.ค. 2549 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าควรชะลอโครงการไว้ก่อนเนื่องจากประสบปัญหาด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการเงิน และเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เอง โดยศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนแบบโครงการเครือข่ายในรูปแบบศูนย์หนังสือในเครือศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 9 ก.พ. 2549 อธิการบดี (ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา) อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในรูปแบบเครือข่ายศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริหารในลักษณะโครงการวิสาหกิจ ให้งบลงทุนและทุนหมุนเวียนในลักษณะทุนประเดิม จำนวน 5,000,000 บาท
- 7 เม.ย. 2549 ส่วนอาคารสถานที่ ออกแบบปรับปรุงอาคารเรียนรวม 5 ใช้เป็นศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- 26 เม.ย. – 26 พ.ค. 2549 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 1 พ.ค. – 29 มิ.ย. 2549 ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงอาคารเรียนรวม 5
- 29 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2549 ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งสำนักงานชั่วคราว ณ อาคารไทยบุรี เพื่อประสานงานการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์หนังสือฯ และจำหน่ายสินค้า ที่จำเป็นในระยะแรก
- 1 – 5 ก.ค. 2549 วางระบบโปรแกรมขาย ตกแต่งศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และจัดสินค้าเพื่อเตรียมเปิดศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างเป็นทางการ โดยได้รับความร่วมมือจากทีมงานของศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาช่วยเหลือและแนะนำ
- 6 ก.ค. 2549 ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เปิดดำเนินการเป็นทางการ(เฉพาะพื้นที่ภายใน)
- 11 ก.ย. 2549 ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เปิดดำเนินการสมบูรณ์ครบวงจร(ทั้งภายในและภายนอก) ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
- 19 เม.ย. 2550 ที่ประชุมบริหาร ครั้งที่ 3/2550 เสนอแนะให้มีการตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- 28 มิ.ย. 2550 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์